Wednesday, April 25, 2018

ปรัชญาการเมืองที่แตกต่าง วิถีชีวิตก็ต่างกัน ( Difference in Political Philosophy, Total Difference in Living Standards )

ปรัชญาการเมืองที่แตกต่าง วิถีชีวิตก็ต่างกัน
( Difference in Political Philosophy, Total Difference in Living Standards )

ณ. ดินแดนอารยธรรมในเอเซียอาคเนย์ ที่มีพื้นที่มากกว่า 500,000 ตร. กม. พื้นที่ที่ใครต่อใครก็พูดเสมอว่า เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสม จนมีคำกล่าวเป็นเอกลักษณ์ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินอุดมสมบูรณ์"  ดินแดนที่มีชนเผ่ามากมายไม่น้อยกว่า 70 ชาติพันธุ์ มีอัตลักษณ์ ประเพณี วัฒนธรรม และภาษาไม่น้อยกว่า 5 กลุ่มภาษาหลัก ที่กระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่ เฉกเช่น ในดินแดนอเมริกา ในยุโรปหลายประเทศ อาทิ เยอรมัน สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น 

ประเพณี วัฒนธรรมธรรม และภาษา คือตัวกำหนดบทบาทพื้นฐานของการดำรงชีวิต หรือจะเรียกว่า วิถีชีวิต ( Lifestyles ) ก็ได้ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานที่ได้มาแต่กำเนิดตามบรรพบุรุษของตน ซึ่งอัตลักษณ์ของการดำรงความเป็นชาติพันธุ์จะแน่นหนาแน่นแฟ้นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับลูกหลานที่สืบเชื้อสายต่อๆกันมาจะดำรงสิ่งเหล่านี้ไว้ได้ดีอย่างไร จะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปเช่นไร  นี่คือพื้นฐานที่ประชากรในชาตินั้นๆต้องเข้าใจร่วมกันว่ากว่าจะเป็นประเทศหนึ่งประเทศใดได้ มันมีประวัติศาสตร์อันยาวนานของแต่ละชาติพันธุ์ที่เป็นเจ้าของถิ่นฐานดั้งเดิมของตนอยู่อาศัยมานานนับหลายร้อยปี พันปี มาแล้ว และถ้าศึกษาให้ลึกซึ้งแตกฉาน จะเห็นได้ว่า ไม่มี ชนชาติไทย อาศัยอยู่แม้แต่คนเดียวในดินแดนแห่งนี้เลย  ชนชาติไทย  ที่ว่าจึงเป็นการอุปโลกตัวเองขึ้นมาในยุคปัจจุบัน ที่ไม่มีมูลความจริงอยู่เลย ไม่มีการอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดๆเลย เป็นการหลอกลวงคนในชาติมากกว่าในเรื่องการดำรงเชื้อชาติไทย และเหตุใดจึงต้องสร้างบริบท และอัตลักษณ์ที่แปลกปลอมเหล่านี้ขึ้นมาลวงกัน เพื่ออะไร? เพื่อประโยชน์ของใคร?

คำตอบที่เห็นได้เด่นชัดที่สุดคือ "อำนาจและผลประโยชน์ของผู้ต้องการปกครองดินแดนที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้" อำนาจและผลประโยชน์ นี่แหละที่เรียกว่า การเมือง

ปรัชญา ก็คือเรื่องของการดำรงชีวิตที่นำเอาทุกแขนงสาขาวิชาการมาประยุกต์ใช้ให้มีการดำรงชีวิตประจำวันของตน จะดีขึ้นหรือจะเลวลง เป็นไปได้ทั้ง 2 ทาง ดังนั้น ศาสนา รัฐศาสตร์ กฎหมาย เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ จริยธรรม จรรยา เทคโนโลยี หรือแม้แต่การดำรงชีวิตแบบ ทำไร่ ไถนา ทำสวน การประมง เป็นต้น

ผู้ปกครองที่แสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ จึงพยายามเอาหลักปรัชญาที่จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อวิถีชีวิตของคนในชาติให้ยึดโยงเข้าด้วยกันได้ ในขณะที่ตนสามารถควบคุมและดำรงความเป็นใหญ่เหนือผู้คนจำนวนมากๆได้อย่างยาวนาน จึงรวมเอา ศาสนา รัฐศาสตร์ โดยมีกฎหมายมาเป็นกรอบให้ คนในชาตินั้นต้องขึ้นอยู่กับผู้ปกครองที่สร้างกฎเกณฑ์กำหนดบทบาทของสังคมให้เป็นไปอย่างที่ต้องการ คำจำกัดความของวิธีการเหล่านี้จึงเรียกรวมๆว่า การเมือง

นานนับพันปี หลายยุคหลายสมัย วิธีคิดของผู้ปกครอง เป็นแบบนี้มาตลอด มีระบบทาส มีระบบเจ้าขุนมูลนาย มีระบบการเอื้อผลประโยชน์กัน ใครต้องการอำนาจเหล่านั้นก็ต้องตะเกียกตะกายกันขึ้นมา จะด้วยวิธีใดก็ตาม ล้วนมีที่มาจากปรัชญาการเมืองแบบเอารัดเอาเปรียบ เหยียดความเป็นมนุษย์ทั้งสิ้น ซึ่งก็เป็นปกติธรรมดาของโลกมายาวนาน แต่ในขณะเดียวกันในมุมมืดของผู้ที่ด้อยกว่า ผู้ที่ถูกปกครอง ก็ย่อมได้รับความทุกข์ทรมาน หมดโอกาส ในการแสดงความเป็นคน เฉกเช่นเหล่าผู้ปกครอง เจ้าขุนมูลนายได้เลย จึงจำเป็นต้องยอมรับการถูกกำหนดบทบาทให้ตนเอง เป็นผู้ร้องขอ เป็นผู้น้อย เป็นผู้ติดตามรับใช้ เป็นผู้อยู่ใต้อำนาจ จะพูด คิด กระทำ สิ่งใดแล้ว ต้องระมัดระวัง กลัวว่าจะมีภัยถึงตัว กลัวว่าจะขาดที่พึ่งพิง กลัวสารพัด ก็เพราะสังคมนั้นกำหนดบทบาทของชนชั้นไว้แล้วอย่างแน่นหนา จนดูเหมือนยากเหลือเกินที่จะสลัดจากพันทนาการเหล่านี้ได้

เหตุก็เพราะผู้ปกครองได้สร้างวิธีการสารพัดมาล้างสมองให้คนในชาตินั้น หลงงมงายอยู่กับ หนี้บุญคุณมหาศาลของผู้ปกครอง ที่พยายามทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพื่อสังคม เพื่อประชากรของตน พยายามปลูกจิตสำนึกคนด้วยคำกล่าวอ้างของศาสนา ในเรื่อง บาป บุญ คุณโทษ เวรกรรม แต่ชาติปางก่อน ชาตินี้ ชาติหน้า สารพัดที่จะสรรหา มาล่อหลอก สั่งสอนคนในชาติ ให้ตกเป็นเครื่องมือ ชูให้ผู้ปกครอง สูงสง่า ดีเลิศเป็นอัฉริยา กว่าใครๆ โดยใช้สารพัด สื่อสารมวลชนทุกแขนง ใช้องค์กรสถาบันการศึกษา และทุกสาขาอาชีพ มาดำรงให้สถานะของผู้ปกครองนี้อยู่ได้ต่อไปอย่างสูงค่า

ผู้ปกครองมีอยู่ทุกระดับตั้งแต่ระดับเล็กๆใน ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล เทศบาล อำเภอ จังหวัด ไล่เลยไปถึงผู้ปกครองสูงสุดของชาติ จึงสังเกตได้ชัดเจนว่า ทุกขั้นตอนต่างหวังสร้างกรอบ กติกา ให้ตนดำรงความมีอำนาจเพื่อเอื้อให้ตนได้รับผลประโยชน์สูงสุดในระดับขั้นนั้นๆ ซึ่งรวมไปถึงพ่อค้า นายทุน ต่างก็จำเป็นต้องเข้าร่วมระบบนี้ เพื่อจะได้อยู่รอดปลอดภัยให้ได้
ผู้ปกครองจึงพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้ประชาชนในชาติ ไม่สนใจการเมือง เกลียดกลัวการเมือง ทำให้สับสนในเรื่องรัฐธรรมนูญ ข้อบัญญัติต่างๆในกฎหมาย ภาษาของกฎหมายที่ต้องตีความ ให้ประชาชนสนใจแต่ในเรื่องเฉพาะตน สนใจในเรื่องความงมงายหวังที่พึ่งพิงทางจิตวิญญาณ มุ่งแต่จะยึดเอาบุคคลเป็นสรณะ มากกว่าเอาหลักเหตุผล ความจริงเป็นบทบาทนำชีวิตตน

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้คือ ตัวอย่างของ สังคมที่ถูกกำหนดบทบาทจากผู้ปกครอง ถ้ามีผู้ปกครองดี อย่างน้อยก็จะทำให้ส่วนรวมดีขึ้นบ้าง แต่ถ้ามีผู้ปกครองที่เลว สังคมก็ยิ่งกว่าเลวร้าย ทั้งนี้ทั้งนั้น สังคมที่สร้างแนวคิดที่มีผู้ปกครอง จึงเป็นสังคมแค่เพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนเป็นหลักเท่านั้น แต่ไม่ใช่ส่วนรวม

มันจึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ถ้าในทางกลับกัน ในประเทศนั้นๆ ในพื้นที่ดินแดนอาณาเขตนั้นๆ ไม่มีระบบการมีผู้ปกครองเป็นใหญ่ ไม่มีระบบเจ้าขุนมูลนาย ไม่มีระบบศักดินา แต่มีประชาชนที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นผู้กำหนดบทบาทของสังคมกันเอง เนื่องด้วย เห็นคุณค่าของความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน มีสิทธิ์เสรีภาพเสมอกันโดยอาศัยกรอบกติกาหรือกฎหมายเดียวกันที่ให้ความสำคัญในมนุษย์ที่เท่ากัน สังคมนั้นจะไม่มีคำว่า ผู้ปกครอง หรือ ผู้ถูกปกครอง อีกต่อไป มันจะมีแต่ ประชาชน ประชาชน และประชาชน เท่านั้น
เมื่อไม่มีผู้ปกครองแล้ว มีแต่ประชาชนที่เคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน หันหน้าเข้าหากัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของตนร่วมกัน จากความต้องการตามอัตลักษณ์ตามถิ่นกำเนิดของตน มีภาษา มีประเพณีวัฒนธรรมของตน บริหารจัดการกันเอง มีอำนาจในการดูแลจัดสรร ปันส่วน ทรัพยากรในพื้นที่กันเอง มีการบริหารรายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรง ทางอ้อม กันเอง มีการพัฒนาสังคม ชุมชน ให้มีภูมิทัศน์ที่ดี มีความสะอาด ปลอดภัย กันเอง โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกัน สร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เข้าถึงได้อย่างทั่วถึงกันเอง มีระบบสวัสดิการที่ช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งของพี่น้องร่วมชาติให้มีศักยภาพสูงสุดกันเอง 
ในรูปแบบการเมืองแบบนี้ จะมีไม่ผู้ปกครองอีกต่อไป จะมีแต่ ผู้เป็นตัวแทนที่ได้รับการมอบอำนาจเป็นฉันทามติจากประชาชน ผู้แทนประชาชนจะต้องทำตามความต้องการของประชาชน ผู้แทนเหล่านั้นอาสามาทำงานเพื่อทำให้ท้องถิ่นนั้นๆ มลรัฐนั้นๆ หรือจะเป็นรัฐบาลกลาง ก็ตาม จะไม่ใช่ผู้มีอภิสิทธิ์เหนือประชาชน จะไม่ใช่เป็นผู้มีบุญคุณเหนือประชาชน จะไม่ใช่ผู้ที่สามารถเอาอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาจากประชาชนมาหาผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้องอีกต่อไป และผู้แทนประชาชนเหล่านั้นจะต้องถูกตรวจสอบได้เสมอด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม 

นี่คือการแสดงเหตุผลในแบบที่ง่ายๆว่า ปรัชญาทางการเมืองที่มีความแตกต่างกัน ก็จะสงผลในการดำรงชีวิตมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน อยู่ที่ว่า เราเลือกที่จะให้ตัวเราเป็นเช่นไร อยากเป็นทาส เป็นเบี้ยล่างของผู้ปกครอง เพราะว่าตนมีนิสัยความเคยชินกับการร้องขอ เรียกร้องหาที่พึ่งตลอดเวลา ก็เหมาะสมแล้วที่จะนิยมดำรงใช้ชีวิตในรูปแบบการเมืองการปกครองที่ต้องมีผู้ปกครองมาชี้นำชีวิตตนไปทุกทิศทางตามแต่บุญพาวาสนาส่งของตนที่ทำมาทุกภพชาติ

หรือเลือกที่จะเห็นคุณค่าในความเป็นคนที่เท่ากันของตน ไม่ต้องการแล้วผู้ปกครอง จึงไ่ม่มีการเมืองการปกครองอีกต่อไป มีแต่นิยามที่ว่า การเมืองการบริหารประเทศ บริหารรัฐ บริหารท้องถิ่น มีตัวแทนมาช่วยทำงานแทนประชาชนที่เป็นทั้งเจ้าของแผ่นดิน ทรัพยากร ร่วมชาติเดียวกัน เป็นประชาชนที่มีสิทธิ์เต็มบริบูรณ์ 100% ในอำนาจอธิปไตย ที่มีองค์ประกอบคือ อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ เสมอกัน ไม่ใช่เหมือนที่ เขาเขียนหลอกไว้ในการเมืองแบบมีผู้ปกครองว่านั่นคือประชาธิปไตย  (มันแค่เสี้ยววินาทีแค่เข้าคูหาหย่อนบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเท่านั้น) เวลาที่เหลือ คืออำนาจอธิปไตยของผู้ปกครอง ส่วนผู้ถูกปกครองก็รับชะตากรรมบันดาลของตนไปชั่วนาตาปี

อยากเป็น ทาส ต่อไป ก็ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีอำนาจ วาสนาบารมี กินภาษีของเราต่อไป เข้าไปปฏิรูปแก้กฏหมายในระบอบโจรต่อไป และก็อาจจะเดินเลยไปสู่อนาคตที่ถูกหลอกไว้หลายชั้นปูทางให้เข้าทางผู้ปกครองคนใหม่ต่อไปเพราะโครงสร้างเดิมยังอยู่ยั้งสถาพร ระบอบใหม่ที่หวัง เอาฐานมวลชนมาหากิน มาเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก สู้เป็นสเต็ปๆเป็นขั้นเป็นตอน แล้วให้ผู้ปกครองเดินย่ำบนกองเลือดประชาชนเพื่อไปสู่ฐานอำนาจใหม่ที่เขาหลอกลวงไว้ว่าคือประชาธิปไตย ในรูปแบบ สาธารณรัฐ ( ถ้ายังมีโครงสร้างอำนาจผลประโยชน์ของผู้ปกครองอยู่ก็ไม่ต่างกัน )

อยากเป็น ไท ก็มีแค่ทางเดียวประตูเดียว คือ เลือกเดินทางแห่งความเป็นมนุษย์ ปฏิวัติล้างโครงสร้างของผู้ปกครองให้หมดไปอย่างสิ้นเชิงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แล้ว สถาปนาสร้างระบอบประชาธิปไตย ที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุดจริงๆ ไม่มีผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองอีกต่อไป ระบอบนี้เป็นการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ระบอบนี้เรียกว่า สหพันธรัฐ ที่ประกอบไปด้วย รัฐ หลายรัฐ ที่มีประชาชน รวมตัวกันในพื้นที่ถิ่นฐานของตนเข้าด้วยกัน สามัคคีกัน เป็นประเทศที่สร้างขึ้นเพื่อประชาชน โดยประชาชน อย่างแท้จริง ประเทศบนพื้นที่ 500,000 กว่า ตารางกิโลเมตร ที่เรียกว่า  สหพันธรัฐไท หรือ ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษง่ายๆ สั้นๆว่า Thai Federation โดยมี 

หลักปรัชญาทางการเมือง 4 ประการ ( Principle of 4 ) คือ
1. เสรีภาพพื้นฐานเสมอกัน ( Freedom of the Humanity )
2. ความเท่าเทียมกันในมนุษย์ ( Equality of Humanity )
3. ภูมิปัญญาในการดำรงชีวิตตน ( Intelligence of Humanity )
4. ปัญญาวิสุทธิ์ ( Wisdom of Humanity )



ไม่ต้องมัวสร้างวาทกรรม ตรรกะ ไปถามใคร ถามตัวเองให้ได้ และตอบตัวเองให้ได้ก็พอ

Wednesday, April 18, 2018

ปัญญาวิสุทธิ์คือวิถีของชีวิต (Wisdom is the path of life)

ปัญญาวิสุทธิ์คือวิถีของชีวิต (Wisdom is the  path of life)

บทความนี้เป็นบทความประยุกต์ใช้เพื่อชีวิตประจำวัน จึงไม่เกี่ยวกับการชี้นำไปเพื่อการนับถือศาสนา เพื่อหลีกเลี่ยง ผู้ที่สุดโต่งในการนับถือทุกศาสนา แต่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เปิดใจรับ และพิจารณาตาม จนสามารถเห็นเป็นทางสว่างของตนเพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในที่สุด

มีปัญญาย่อมสามารถสร้างทุกสรรพสิ่ง ขาดไร้ซึ่งปัญญา ย่อมมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของผู้อื่นได้ ทุกสรรพสิ่งล้วนเสมือนเหรียญ มี 2 ด้านเสมอ ปัญญาก็เช่นกัน ปัญญาในด้านมืด ย่อมนำพาไปสู่ความหายนะวิบัติ ปัญญาในด้านใฝ่ดี ย่อมนำพาชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง สดใสสว่าง ร่มเย็นเป็นที่ตั้ง ทุกการกระทำ ทุกความคิด และทุกคำพูด จึงเสมือนเป็นตัวแทน ของผู้ใช้ปัญญา ใช้ดี ผลก็ต้องออกมาดี ใช้ในทางเสียหาย ผลย่อมออกมาในทางเสื่อม บางคนมักจะคิดด้วยการสุกเอาเผากินว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" คนบางส่วนในปัจจุบันจึงมักง่ายต่อผลสำเร็จให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงวิธีการได้มา แม้จะต้องใช้ความไม่ชอบใดๆทางกฎหมาย อำนาจเหนือกฎหมาย หรือ อำนาจมืด อิทธิพลเถื่อน มาบังคับขู่เข็ญใดๆก็ทำได้ เห็นผิดเป็นชอบ เอาดีเข้าตัวโยนความผิดให้คนอื่น สร้างภาพล้างสมองคนในชาติให้ไหลหลงในมายาภาพ มายาคติ สำนึกในบุญคุณจอมปลอม นี่คือรากแห่งปัญหา ซึ่งทำให้เกิดผล ทำให้วิถีชีวิตของคนทั้งชาติต้องจมปรักกับความขัดแย้ง ความรุนแรง ความอำมหิต และความโสมม มายาวนาน ตราบใดที่ ยังมีกลุ่มคนที่ถืออำนาจบาตรใหญ่มาใช้ปัญญาด้านมืดมาทำลายล้างสังคมเพื่อประโยชน์ของตน ตราบนั้นชีวิตของคนในชาติย่อมไม่มีโอกาสเจริญรุ่งเรือง มีอนาคตสดใสได้เลย

ปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางแก้ไข ปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางออกปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางสว่างของทุกสรรพชีวิต

ปัญญาวิสุทธิ์ คือ หลักธรรมในคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้ว่าจะเป็นคำสอนของศาสดาในศาสนาพุทธ แต่คำสอนนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาไม่น้อยกว่า 2500 ปี เป็นคำสอนที่ใช้ปฏิบัติได้ผลจริงต่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้ที่โน้มนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และที่สำคัญกว่านั้น มันคือ วิธีคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และ ทางปฏิบัติ ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยมีกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศยังให้ผู้ปฏิบัติใช้ปัญญาในทางสว่าง

ปัญญาวิสุทธิ์ ดังกล่าวก็คือ อริยสัจ 4 (Truth of 4) ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ท่านผู้อ่านคงแปลกใจว่า แล้ว อริยสัจ 4 นี่จะนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร แล้วเหตุใด จึงว่าเป็น เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่มีกรอบจริยธรรมเป็นแนวทางกำหนดบทบาทของชีวิต
วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ มีเพียงแค่ การหาสาเหตุของการเกิดผล หาความจริงของผลนั้น แต่วิทยาศาสตร์ ไม่ได้รวมเอาเรื่อง จริยธรรม มาเกี่ยวข้อง ดังนั้น วิทยาศาสตร์ จึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือค้นคว้าหาความจริง เครื่องมือค้นคว้าเพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่เริ่มมีหลักวิชาวิทยาศาสตร์ทุกแขนงสาขา เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะวิทยา รวมถึง สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และทุกแขนงสาขา ล้วนมีหลักที่นำมาคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ก่อนนำไปปฏิบัติ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นปัญญา ที่เรียกว่า ภูมิปัญญา (Intelligence)
ภูมิปัญญา ถ้าใช้ในทางที่ถูกย่อมเกิดผลดี แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิด ย่อมมีโทษมหันต์เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นการใช้ปัญญา อันเกิดมาจากการเรียนรู้หลักวิชาการ หรือ การเรียนรู้จากการดำรงชีวิตตามอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตท้องถิ่นของตน เช่น การทำนา ทำสวน ทำประมง การทอผ้า การจักสาน การร้องรำ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น

ต่อเมื่อ ปัญญานั้น หรือ เครื่องมือทางวิทยาศาสร์นั้น มีกรอบในการนำไปปฏิบัติด้วยจริยธรรม ที่คำนึงถึงประโยชน์ตน และประโยชน์ส่วนรวม ถ้าแม้นว่า ปัญญานั้นจะเป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นภัย เป็นโทษ ก็ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า เป็นเพียง ภูมิปัญญาทั้งสิ้น ดังนั้น ปัญญาวิสุทธื์ จึงมีความหมายเพื่อประโยชน์สุขโดยแท้จริง

ทุกข์ และ นิโรธ (แบบประยุกต์ ไม่ใช่เรื่องของการนำไปสู่นิพพาน) คือ ความหมายเดียวกับ ผลของการกระทำ กระทำชั่ว คิดชั่ว พูดจาไร้สาระ ไม่มีคุณประโยชน์อะไร ผลของมันคือ ทุกข์ คิดดี ทำดี พูดดี ผลคือ การดับทุกข์ คือ มีความสุข
สมุทัย คือ เหตุที่ ทำให้เกิดผล จะสุข หรือ ทุกข์ ก็ได้
ถ้าปราศจากจริยธรรมใดๆมาตีกรอบกำหนดลงไป ในวิถีชีวิตประจำวันของทุกคน ก็จะพบกับ ผลดี ผลเสีย อยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นธรรมชาติของทุกคนบนโลกใบนี้


แล้วอะไรคือ จริยธรรม หละ? 
แนวทางที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ถ้าต้องการความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดแก่ชีวิตตน สิ่งนั้นคือ มรรคมีองค์ 8 (Paths of 8) หรือจะเรียกอีกนัยยะหนึ่งว่า ไตรลักษณ์ (The Three Characteristics of Common Nature) คือ ศีล (Ethics), สมาธิ (Meditation, Conscious), ปัญญา (Wisdom)
มรรคมีองค์ 8 ประกอบไปด้วย
1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ ความเพียรพยายามชอบ
7. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ
ศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สมาธิ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญา คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

ไม่เพียงเท่านี้ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังมีหลักคิดที่ยังให้ตนไม่เป็นผู้หลงเชื่อโดยง่ายดาย หลงเชื่อในคำหลอกลวงล้างสมอง โฆษณาชวนเชื่อ แม้กระทั่งจะเป็นผู้ที่เราเคารพนับถือสูงส่งเพียงใด หลักธรรมนำความคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ก่อนปฏิบัติ ที่นำมาเป็นฐานคือ หลักกาลามสูตร 10 ประการ (Kalama Sutta 10) มีดังนี้
1. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆกันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคำภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง)
6. อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน)
7. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล


8. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะว่าเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเป็นครูของเรา

นี่คือหลักจริยธรรม ซึ่งมาพร้อมด้วย หลักกาลามสูตร ในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ในเหตุและผล ให้ลุล่วง ถี่ถ้วน ก่อนจะลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพร้อมบริบูรณ์ด้วยวิธีการ ที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ วิธีคิดพิจารณาที่เป็นประโยชน์สูงสุด และอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม ย่อมยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้เกิดขึ้นได้เสมอ ความอยู่เย็นเป็นสุข สงบ สันติ และความเจริญรุ่งเรืองย่อมบังเกิดขึ้นได้ไม่ยากนักต่อผู้นำไปปฏิบัติ

และเมื่อคนทั้งชาติมีหลักธรรมที่เรียกว่า ปัญญาวิสุทธิ์ นี้แล้ว ประเทศชาติ จะมีความผาสุข มั่นคง และเจริญก้าวหน้าไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้ว่าจะเกิดเหตุกระทบมาจากภายใน หรือภายนอกประเทศก็ตาม ปัญญาวิสุทธิ์ นี่แหละจะช่วยแก้ทุกปัญหาให้ลุล่วงลงได้

ปล. ถ้าปราศจากสิทธิ์เสรีภาพและความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ศักยภาพที่สมบูรณ์ของมนุษย์ก็จะไม่บังเกิดขึ้น





Sunday, April 15, 2018

เสื้อมหาราชกู้แผ่นดิน (Takzin the Hero T-shirt)

เสื้อมหาราชกู้แผ่นดิน (Takzin the Hero T-shirt)

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

 

เนื้อผ้าฝ้าย พิมพ์สี่สีอย่างดี มีจำนวนจำกัด ราคา US$ 50.- (รวมค่าขนส่งแล้ว)
สั่งซื้อและชำระได้ทาง Western Union หรือ Money Gram

** สำหรับ ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในสหรัฐอเมริกา Money Gram จะคิดค่าธรรมเนียมการโอนถูกกว่า และสะดวกกว่า **
สั่งจ่ายในชื่อ
First name: Napadon
Last name: Henkels
Destination: USA
สอบถามและติดต่อได้ที่ (more info contact) @ Line: CD1




รวมพลังสหพันธรัฐไท หัวใจฟรุ้งฟริ้ง


มาร่วมแรงร่วมใจเป็นส่วนหนึ่งของชาวสหพันธรัฐไท สู้เพื่ออนาคตลูกหลานไท

ปรัชญา หลักปฏิบัติ 4 ประการ (Principle of 4)



ปรัชญา หรือ หลักปฏิบัติ  4 ประการ Principle of 4




ปัญญาวิสุทธิ์นำไปสู่วิถีชีวิตที่ดีของชาวสหพันธรัฐไท

ถือเป็นหลักยึดในการปฏิบัติต่อเพื่อนร่วมชาติด้วยกัน ซึ่งจะส่งผลในการดำรงชีวิตที่จะนำพาไปสู่ชีวิตที่มีแต่ความเจริญรุ่งเรือง สว่างสดใส ไม่มีที่สิ้นสุด ประกอบไปด้วยคุณธรรมหลัก 4 ประการ คือ
1. หลักแห่งความเสมอภาคกัน (Human Equality)
2. หลักแห่งเสรีภาพ (Freedom of  Humanity)
3. หลักแห่งภูมิปัญญาในการดำรงชีวิต (Intelligence of Humanity)
4. หลักแห่งคุณธรรมหรือปัญญาวิสุทธิ์ในการดำรงชีวิต (Wisdom of Humanity)


มนุษย์ทุกชีวิตที่เกิดมาบนโลกจะต้องมีพื้นฐาน 2 ประการเป็นหลัก และต้องได้รับความคุ้มครองเสมอกันอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมายเสียก่อน สองสิ่งนี้คือ ความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน และเสรีภาพพื้นฐาน (Human Equality & Freedom of Humanity) ซึ่งถือเป็นหลักปฏิบัติที่กำหนดร่วมกันต่อสหประชาชาติ ที่ใครจะละเมิดมิได้

เมื่อมีสิ่งสองสิ่งนี้มีบริบูรณ์แล้ว ความเป็นมนุษย์ที่บริบูรณ์พร้อมก็จะก่อเกิดขึ้น ศักยภาพของมนุษย์เหล่านั้น ก็จะพรั่งพรูออกมาได้ไม่สิ้นสุด นี่คือรากแก้วของการดำรงชีวิต ที่จะพัฒนาไปสู่ การเกิดภูมิปัญญา (Intelligence of Humanity) ภูมิปัญญาเหล่านี้นี่แหละ คือสิ่งสร้างสรรที่จะนำพาให้ มนุษย์มีความสุขสบายขึ้น ทั้งการผลิตผลงานต่างๆ การทำงานอะไรก็ตาม มาจากสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด

และสิ่งที่เป็นเสมือนเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความสุจริต เที่ยงธรรม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีเมตตา ไมตรีจิตต่อกัน หลักคุณธรรมนี้เรียกว่า ปัญญาวิสุทธิ์ (Wisdom of Humanity)
ซึ่งอ้างอิงถึง วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ มีเหตุมีผล มีแนวทางที่นำเอา มรรคมีองค์แปด มาประกอบใช้ พร้อมทั้ง เอาหลักวิธีวิเคราะห์ใน อริยสัจสี่ มาเป็นกรอบให้ชีวิตดำเนินทิศทางได้อย่างถูกต้องที่สุด ซึ่งจะส่งผลต่อตนเอง ครอบครัว สังคมรอบข้าง และขยายไปสู่ความเป็นชาติในที่สุด

ปัญญาวิสุทธิ์ นี้ไม่ใช่เรื่องของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นหลักสากล ที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ถ้าได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้วจะเข้าใจโดยดุษฎี และเมื่อน้อมนำมาปฏิบัติย่อมส่งผลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า

หลักธรรมปฏิบัติ 4 ประการ อันมี 

ความเสมอภาค (Human Equality)

สรีภาพ (Freedom of Humanity)

ภูมิปัญญา (Intelligence of Humanity)

ปัญญาวิสุทธิ์ (Wisdom of Humanity)

เมื่อนำมารวมเป็น ปรัชญาในการดำรงชีวิต และถือเป็นหลักปรัชญาทางการเมืองด้วย ก็จะทำให้มวลมนุษยชาติที่อาศัยร่วมชาติกัน มีความเจริญรุ่งเรื่อง สว่างสดใส ร่มเย็น สงบและสันติ ได้ไม่มีที่สิ้นสุดอย่างแท้จริงปัญญาวิสุทธิ์นำไปสู่วิถีชีวิตของชาวสหพันธรัฐไท

ธงสหพันธรัฐไท Thai Federation Flag


ธงสหพันธรัฐไท

ก่อกำเนิดจากแนวความคิดที่ตระหนักถึงคุณค่าในความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน มีเสรีภาพบริบูรณ์ มีความเสมอภาคกัน อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างร่มเย็นเป็นสุข และมีความเจริญรุ่งเรือง โดยมนุษย์ทุกคนได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายเสมอกัน


เหตุผลในการออกแบบลายธงในแนวนอน คำนึงถึง ความสวยงามทางศิลปเพื่อรวมพลังของประชาชนในชาติ เพื่อมุ่งไปสู่ความสงบสันติและความเจริญรุ่เรือง โดยขจัดทุกอุปสรรคความขัดแย้งที่คอยกดทับศักยภาพในความเป็นมนุษย์ให้หมดไปให้สิ้นไปตลอดกาล

สีแดง
เป็นตัวแทน ของเลือดทุกหยดของประชาชนที่รวมพลังกันสร้างชาติ ชาติคือประชาชน
สีขาว เป็นตัวแทน ของความสว่างไสว ความเจริญรุ่งเรือง และสงบสันติ การเคารพสิทธิ์ในความเป็นมนุษย์ด้วยความเท่าเทียมกัน มีปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้เสมอ

ความหมายของความเป็นชาติ มีสิ่งเดียวเท่านั้นคือ ประชาชน ประชาชนคือศูนย์รวม และถือเป็นเจ้าของประเทศร่วมกัน ไม่มีอะไรจะมาทำลายล้างลงได้ ไม่มีการแบ่งแยกด้วย เชื้อชาติ ศาสนา ชั้นวรรณะ ฐานะ การศึกษา และสิ่งอื่นใดที่จะมาลดทอน ความเป็นมนุษย์ย่อมหาทำได้ไม่

ดังนั้น ธงสหพันธรัฐไท นี้ จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งจิตสำนึกในคุณค่าของมวลมนุษยชาติเป็นที่ตั้งเท่านั้น

ธงสหพันธรัฐไท

ธงสหพันธรัฐไท Thai Federation Flag