Wednesday, April 18, 2018

ปัญญาวิสุทธิ์คือวิถีของชีวิต (Wisdom is the path of life)

ปัญญาวิสุทธิ์คือวิถีของชีวิต (Wisdom is the  path of life)

บทความนี้เป็นบทความประยุกต์ใช้เพื่อชีวิตประจำวัน จึงไม่เกี่ยวกับการชี้นำไปเพื่อการนับถือศาสนา เพื่อหลีกเลี่ยง ผู้ที่สุดโต่งในการนับถือทุกศาสนา แต่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เปิดใจรับ และพิจารณาตาม จนสามารถเห็นเป็นทางสว่างของตนเพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในที่สุด

มีปัญญาย่อมสามารถสร้างทุกสรรพสิ่ง ขาดไร้ซึ่งปัญญา ย่อมมีโอกาสตกเป็นเครื่องมือของผู้อื่นได้ ทุกสรรพสิ่งล้วนเสมือนเหรียญ มี 2 ด้านเสมอ ปัญญาก็เช่นกัน ปัญญาในด้านมืด ย่อมนำพาไปสู่ความหายนะวิบัติ ปัญญาในด้านใฝ่ดี ย่อมนำพาชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง สดใสสว่าง ร่มเย็นเป็นที่ตั้ง ทุกการกระทำ ทุกความคิด และทุกคำพูด จึงเสมือนเป็นตัวแทน ของผู้ใช้ปัญญา ใช้ดี ผลก็ต้องออกมาดี ใช้ในทางเสียหาย ผลย่อมออกมาในทางเสื่อม บางคนมักจะคิดด้วยการสุกเอาเผากินว่า "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป" คนบางส่วนในปัจจุบันจึงมักง่ายต่อผลสำเร็จให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด โดยไม่คำนึงถึงวิธีการได้มา แม้จะต้องใช้ความไม่ชอบใดๆทางกฎหมาย อำนาจเหนือกฎหมาย หรือ อำนาจมืด อิทธิพลเถื่อน มาบังคับขู่เข็ญใดๆก็ทำได้ เห็นผิดเป็นชอบ เอาดีเข้าตัวโยนความผิดให้คนอื่น สร้างภาพล้างสมองคนในชาติให้ไหลหลงในมายาภาพ มายาคติ สำนึกในบุญคุณจอมปลอม นี่คือรากแห่งปัญหา ซึ่งทำให้เกิดผล ทำให้วิถีชีวิตของคนทั้งชาติต้องจมปรักกับความขัดแย้ง ความรุนแรง ความอำมหิต และความโสมม มายาวนาน ตราบใดที่ ยังมีกลุ่มคนที่ถืออำนาจบาตรใหญ่มาใช้ปัญญาด้านมืดมาทำลายล้างสังคมเพื่อประโยชน์ของตน ตราบนั้นชีวิตของคนในชาติย่อมไม่มีโอกาสเจริญรุ่งเรือง มีอนาคตสดใสได้เลย

ปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางแก้ไข ปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางออกปัญญาวิสุทธิ์ คือ ทางสว่างของทุกสรรพชีวิต

ปัญญาวิสุทธิ์ คือ หลักธรรมในคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้ว่าจะเป็นคำสอนของศาสดาในศาสนาพุทธ แต่คำสอนนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาไม่น้อยกว่า 2500 ปี เป็นคำสอนที่ใช้ปฏิบัติได้ผลจริงต่อความเจริญรุ่งเรืองของผู้ที่โน้มนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน และที่สำคัญกว่านั้น มันคือ วิธีคิด วิเคราะห์ แยกแยะ และ ทางปฏิบัติ ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยมีกรอบของจริยธรรม จรรยาบรรณ ซึ่งเป็นเสมือนเข็มทิศยังให้ผู้ปฏิบัติใช้ปัญญาในทางสว่าง

ปัญญาวิสุทธิ์ ดังกล่าวก็คือ อริยสัจ 4 (Truth of 4) ซึ่งประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ท่านผู้อ่านคงแปลกใจว่า แล้ว อริยสัจ 4 นี่จะนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้อย่างไร แล้วเหตุใด จึงว่าเป็น เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่มีกรอบจริยธรรมเป็นแนวทางกำหนดบทบาทของชีวิต
วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ มีเพียงแค่ การหาสาเหตุของการเกิดผล หาความจริงของผลนั้น แต่วิทยาศาสตร์ ไม่ได้รวมเอาเรื่อง จริยธรรม มาเกี่ยวข้อง ดังนั้น วิทยาศาสตร์ จึงเป็นเพียงแค่เครื่องมือค้นคว้าหาความจริง เครื่องมือค้นคว้าเพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ นับตั้งแต่เริ่มมีหลักวิชาวิทยาศาสตร์ทุกแขนงสาขา เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะวิทยา รวมถึง สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ และทุกแขนงสาขา ล้วนมีหลักที่นำมาคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น ก่อนนำไปปฏิบัติ สิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นปัญญา ที่เรียกว่า ภูมิปัญญา (Intelligence)
ภูมิปัญญา ถ้าใช้ในทางที่ถูกย่อมเกิดผลดี แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิด ย่อมมีโทษมหันต์เช่นกัน ดังนั้น จึงเป็นการใช้ปัญญา อันเกิดมาจากการเรียนรู้หลักวิชาการ หรือ การเรียนรู้จากการดำรงชีวิตตามอัตลักษณ์ และวิถีชีวิตท้องถิ่นของตน เช่น การทำนา ทำสวน ทำประมง การทอผ้า การจักสาน การร้องรำ การละเล่นพื้นบ้าน เป็นต้น

ต่อเมื่อ ปัญญานั้น หรือ เครื่องมือทางวิทยาศาสร์นั้น มีกรอบในการนำไปปฏิบัติด้วยจริยธรรม ที่คำนึงถึงประโยชน์ตน และประโยชน์ส่วนรวม ถ้าแม้นว่า ปัญญานั้นจะเป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นภัย เป็นโทษ ก็ต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า เป็นเพียง ภูมิปัญญาทั้งสิ้น ดังนั้น ปัญญาวิสุทธื์ จึงมีความหมายเพื่อประโยชน์สุขโดยแท้จริง

ทุกข์ และ นิโรธ (แบบประยุกต์ ไม่ใช่เรื่องของการนำไปสู่นิพพาน) คือ ความหมายเดียวกับ ผลของการกระทำ กระทำชั่ว คิดชั่ว พูดจาไร้สาระ ไม่มีคุณประโยชน์อะไร ผลของมันคือ ทุกข์ คิดดี ทำดี พูดดี ผลคือ การดับทุกข์ คือ มีความสุข
สมุทัย คือ เหตุที่ ทำให้เกิดผล จะสุข หรือ ทุกข์ ก็ได้
ถ้าปราศจากจริยธรรมใดๆมาตีกรอบกำหนดลงไป ในวิถีชีวิตประจำวันของทุกคน ก็จะพบกับ ผลดี ผลเสีย อยู่ตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องธรรมดา และเป็นธรรมชาติของทุกคนบนโลกใบนี้


แล้วอะไรคือ จริยธรรม หละ? 
แนวทางที่ปฏิเสธไม่ได้เลย ถ้าต้องการความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดแก่ชีวิตตน สิ่งนั้นคือ มรรคมีองค์ 8 (Paths of 8) หรือจะเรียกอีกนัยยะหนึ่งว่า ไตรลักษณ์ (The Three Characteristics of Common Nature) คือ ศีล (Ethics), สมาธิ (Meditation, Conscious), ปัญญา (Wisdom)
มรรคมีองค์ 8 ประกอบไปด้วย
1. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ
2. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
3. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
4. สัมมากัมมันตะ การกระทำชอบ
5. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
6. สัมมาวายามะ ความเพียรพยายามชอบ
7. สัมมาสติ ความระลึกชอบ
8. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ
ศีล คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
สมาธิ คือ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
ปัญญา คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ

ไม่เพียงเท่านี้ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า ยังมีหลักคิดที่ยังให้ตนไม่เป็นผู้หลงเชื่อโดยง่ายดาย หลงเชื่อในคำหลอกลวงล้างสมอง โฆษณาชวนเชื่อ แม้กระทั่งจะเป็นผู้ที่เราเคารพนับถือสูงส่งเพียงใด หลักธรรมนำความคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ก่อนปฏิบัติ ที่นำมาเป็นฐานคือ หลักกาลามสูตร 10 ประการ (Kalama Sutta 10) มีดังนี้
1. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
2. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆกันมา
3. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
4. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคำภีร์
5. อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ (การคิดเอาเอง)
6. อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน)
7. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล


8. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. อย่าปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะว่าเป็นไปได้
10. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเป็นครูของเรา

นี่คือหลักจริยธรรม ซึ่งมาพร้อมด้วย หลักกาลามสูตร ในการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ในเหตุและผล ให้ลุล่วง ถี่ถ้วน ก่อนจะลงมือกระทำการใดๆ เมื่อพร้อมบริบูรณ์ด้วยวิธีการ ที่เป็นทั้งวิทยาศาสตร์ วิธีคิดพิจารณาที่เป็นประโยชน์สูงสุด และอยู่ในจริยธรรมอันดีงาม ย่อมยังประโยชน์ตนประโยชน์ท่านให้เกิดขึ้นได้เสมอ ความอยู่เย็นเป็นสุข สงบ สันติ และความเจริญรุ่งเรืองย่อมบังเกิดขึ้นได้ไม่ยากนักต่อผู้นำไปปฏิบัติ

และเมื่อคนทั้งชาติมีหลักธรรมที่เรียกว่า ปัญญาวิสุทธิ์ นี้แล้ว ประเทศชาติ จะมีความผาสุข มั่นคง และเจริญก้าวหน้าไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้ว่าจะเกิดเหตุกระทบมาจากภายใน หรือภายนอกประเทศก็ตาม ปัญญาวิสุทธิ์ นี่แหละจะช่วยแก้ทุกปัญหาให้ลุล่วงลงได้

ปล. ถ้าปราศจากสิทธิ์เสรีภาพและความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ศักยภาพที่สมบูรณ์ของมนุษย์ก็จะไม่บังเกิดขึ้น





No comments:

Post a Comment

ธงสหพันธรัฐไท

ธงสหพันธรัฐไท Thai Federation Flag